User:CourtnayFunderburk898

From NE ACS Wiki
Jump to: navigation, search

การเจาะสำรวจดิน ส่วนมากบริษับเจาะสำรวจชั้นดินจะใช้วิธี เจาะแบบฉีดล้าง คือใช้แท่งเหล็กที่เป็นหัวเกลียวหรือตัวกระแทกกวนดินและใช้น้ำเป็นตัวพาเอาดินออกมาจากหลุมเจาะสำรวจ ขั้นตอนเจาะสำรวจชั้นดินจะเริ่มต้นด้วยการตีท่อเหล็กป้องกันหลุมเจาะพัง (Casing) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว ความยาวโดยเฉลี่ย 3 ถึง 6 เมตร นำแท่งเหล็กที่เป็นตัวปั่นดินซึ่งต่ออยู่กับหลอดเหล็ก (Rod) ค่อยๆหย่อนลงไปกวนดิน ท่อส่งเป็นท่อที่มีรูตรงกลาง ขณะกวนดินจะฉีดน้ำให้ไหลในท่อส่งไปออกที่หัวเจาะสำรวจดินตลอดเวลา การเจาะดินจะกระทำอย่างสม่ำเสมอจนได้ความลึกเพิ่มขึ้นโดยลำดับ และจะเก็บดินตัวอย่างทุกๆช่วงความลึก 1.50 ม. การเก็บตัวอย่างดินในหลุมเจาะจะดึงท่อส่ง (Rod) ขึ้นมาเปลี่ยนปลายล่างเป็นกระบอกที่ใช้เก็บตัวอย่างดิน ตัวอย่างดินที่ใช้กันอยู่มี2 แบบคือ กระบอกแบบบาง (Thin-wall tube) และกระบอกเก็บตัวอย่างแบบผ่า (Split spoon tube)


เมื่อได้ตัวอย่างดินในหลุมเจาะแล้วจะนำเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อหาคุณลักษณะต่างๆ ของดินตัวอย่าง เช่น ความชุ่มชื้นของดิน (Natural water content), LL. (Liquid Limit), PL. (Plastic Limit), น้ำหนักต่อปริมาตร (Unit Weight) จำแนกชนิดของตัวอย่างดินในหลุมเจาะ และหาค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนของตัวอย่างดินในหลุมเจาะ ฯลฯ


เมื่อเจาะสำรวจชั้นดินและทดสอบดินตัวอย่างในห้องทดลองเรียบร้อยแล้ว ผู้ ทำการเจาะสำรวจดิน จะสรุปเป็นรายงานผลการทำการเจาะสำรวจดิน ซึ่งปกติรายงานผลการเจาะสำรวจดินจะประกอบด้วย ตารางบอกผลการทดสอบดินใน Laboratory Room (Summary of Test Result) ภาพตัดแสดงชั้นดิน และค่าพารามิเตอร์ต่างๆเปรียบกับความลึกในแต่ละช่วง (Boring Log) ตารางแสดงกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละชนิด เป็นต้น